การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
นอกจากต้องใช้ระบบปฏิบัติการแล้ว
ผู้ใช้งานยังต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานด้านต่าง ๆ
ซึ่งต้องอาศัยซอฟต์แวร์ที่มีผู้ผลิตขึ้นมาให้เลือกใช้งานที่เรียกว่า
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ โดยแบ่งออกเป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปและซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน
1.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้กับงานทั่วไป
คือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ ( package ) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้นและจัดจำหน่าย
เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นใช้เอง
ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ
ซอฟต์แวร์ตารางการทำงาน ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์นำเสนอ
ซอฟต์แวร์สื่อสาร ซอฟต์แวร์กราฟิกและสื่อประสม
1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ
ซอฟต์แวร์ประมวลคำ
(
word processing software ) เป็นซอฟต์แวร์ที่ออกแบบสำหรับการพิมพ์เอกสาร
สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี
เอกสารที่พิมพ์และจัดเก็บไฟล์ สามารถแก้ไข และพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ได้
ซอฟต์แวร์ประมวลคำ เช่น OpenOffine.org Writer , Microsoft Word
2) ซอฟต์แวร์ตารางการทำงาน
ซอฟต์แวร์ตารางการทำงาน
( spreadsheet software ) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ
การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางการทำงานใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้
มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข
ข้อความหรือสูตรสามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด
หรือสามารถสร้างคำสั่งหรือสูตรเพื่อใช้งานเฉพาะได้
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ซอฟต์แวร์ตารางการทำงานสร้างกราฟและแผนภูมิสำหรับนำเสนอในรูปแบบต่าง
ๆ เช่น แผนภูมิแท่ง แผนภูมิวงกลม ซอฟต์แวร์ตารางการทำงาน เช่น OpenOffice.org
Calc , Microsoft Excel
3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล
ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล
(
database management software ) เป็นซอฟต์แวร์ช่วยในการเก็บข้อมูล
ผู้ใช้สามารถใช้ ปรับปรุง และค้นคืน ข้อมูลได้ง่าย ทั้งยังสามารถสร้างรายงานหรือสรุปผลข้อมูลได้หลายรูปแบบ
ซอฟต์แวร์นี้จะมีการจัดเก็บทั้งค่าข้อมูลพร้อมโครงสร้างข้อมูล
เพื่อช่วยลดความซ้ำซ้อน
และความขัดแย้งของข้อมูลตลอดจนช่วยให้ผู้ใช้งานได้รับความสะดวกและใช้ข้อมูลร่วมกันได้
ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เช่น OpenOffice.org Base , Microsoft Access ,
MySQL , Oracle
4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ
ซอฟต์แวร์นำเสนอ
(presentation
software ) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการนำเสนอ
ช่วยให้การนำเสนอทำได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว และมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
ซอฟต์แวร์นำเสนอสามารถสร้างสไลด์ที่ประกอบด้วย ตัวอักษร รูปภาพ กราฟ แผนภูมิ ตาราง
ภาพเคลื่อนไหว และเสียง สามารถตกแต่งและนำเสนอสไลด์ด้วยรูปแบบต่าง ๆ เช่น
การใส่และตกแต่งพื้นหลังสไลด์
ตกแต่งตัวอักษรและเลือกรูปแบบการแสดงตัวอักษรและสไลด์ ตัวอย่างซอฟต์แวร์นำเสนอ
เช่น OpenOffice.org Impress, Microsoft PowerPoint
5) ซอฟต์แวร์สื่อสาร
ซอฟต์แวร์สื่อสาร (communication software ) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก
ซึ้งให้ได้ทั้งความสะดวกและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการค้นหา ศึกษา ขายสินค้า
เชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย เช่นอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น
ๆเพิ่มเติมได้ เช่น Moziila Firefox , Enternet Explorer
6) ซอฟต์แวร์กราฟิกและสื่อประสม
ซอฟต์แวร์กราฟิกและสื่อประสม
(graphic
and multimedia software ) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้าง ออกแบบ วาด
ตกแต่ง แสดงเอกสารหรือรูปภาพ และจัดการสื่อที่ประกอบด้วยภาพนิ่ง เสียง
ข้อความภาพเคลื่อนไหว สะดวกต่อการนำไปใช้งานด้านกราฟิกและสื่อประสม
ซอฟต์แวร์กราฟิกและสื่อประสม เช่น GIMP , Paint , Adobe , Photoshop ,
Corel Draw , Live switch, Adobe Flash , 3D MAX , Windows Movie Maker
2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน
การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป
ซึ่งอาจไม่เหมาะกับงานทางธุรกิจบางอย่าง เช่น ในงานธนาคารมีการฝากถอนเงิน
งานทางด้านบัญชีหรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานการขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน
การควบคุมสินค้าคงคลัง
ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ในแต่ละราย
นอกจากนี้ยังมีซอฟต์แวร์เฉพาะงานด้านการศึกษา
ที่ช่วยเสริมการเรียนรู้ในสาขาต่าง ๆ เช่น Thai Geometer’s Sketchpad
(ThaiGSP) , Mathlab , Scilab
ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงานอีกประเภทหนึ่ง
คือ ซอฟต์แวร์เกม ซึ่งเป็นที่นิยมกันทั่วโลกทั้งในกลุ่มเด็กและผู้ใหญ่ รูปแบบของซอฟต์แวร์เกมแต่ละชนิดก็มีความเหมาะสมและไม่เหมาะสมแตกต่างกัน
ดังนั้นการเลือกใช้ซอฟต์แวร์เกมจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพิจารณาให้รอบคอบ
และควรปรึกษาผู้ปกครองถึงความเหมาะสมด้วย
>>>เกร็ดน่ารู้<<<
ศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
1.ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์แบบใช้ได้เสรี (freeware) หมายถึง ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่สามารถนำไปใช้งานได้ฟรี
โดยเจ้าของลิขสิทธิ์อาจมีการกำหนดเงื่อนไขการใช้งานไว้
2.ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์แบบทดลองใช้ (shareware/trialware)
หมายถึง ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่สามารถนำไปทดลองใช้ได้ฟรีตามระยะเวลาที่กำหนด
หลังจากนั้นต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้งาน
3.ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สาธารณะ (public
domain software ) หมายถึง
ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ได้สละลิขสิทธิ์เพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธารณชน
หรือเป็นซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่หมดอายุการคุ้มครอง
ผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างไม่มีข้อจำกัด
4.ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์แบบรหัสเปิด (open
source software) หมายถึง
ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่สามารถนำไปใช้งานได้
และมีการเปิดเผยรหัสต้นฉบับหรือซอร์สโค้ด (source code ) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถทำการศึกษาเปลี่ยนแปลงการแก้ไข
และพัฒนาซอฟต์แวร์ รวมทั้งจำหน่ายจ่ายแจกซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ได้พัฒนาต่อยอดนั้นได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น